ไก่ไซง่อน

ไก่ไซง่อน

         

   ลักษณะไก่ไซง่อน 100% โหงวเฮ้งดี ต้องประกอบไปด้วย

  1. ลักษณะส่วนหัว ต้องมีกะโหลกที่หนา มีขนาดที่ใหญ่ มีโหนกแก้มที่โดดเด่น ใบหน้ามีความดุและเชิด
  2. ลักษณะโครงสร้างลำตัว ไก่ไซง่อนจะมีโครงสร้างลำตัวขนาดใหญ่ ผิวหนังมีสีแดงมีความหยาบหนา และมีความแข็ง ขนที่บริเวณลำคอจะมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย และน้ำหนักตามมาตฐานของไก่ไซง่อนจะอยู่ที่ 2.8 – 5.0 กิโลกรัม
  3. ลักษณะของลำขาและเกล็ดขา จะมีลักษณะเกล็ดขาที่เรียงกันอย่างสวยงาม เป็นระเบียบ มีเกล็ดขาตั้งแต่ 2 แถวขึ้นไปทั้งสองขา สามารถตีหักตีนอนได้ ส่วนไก่ไซง่อนที่มีเกล็ดขาเรียงกันตั้งแต่ 3 แถว ถึง 4 แถว ถือว่าเป็นไก่ที่หาได้ยากมาก แข้งจะเป็นทรงสามเหลี่ยม แต่แข้งสี่เหลี่ยมจะดีมาก แข้งลักษณะกลมจะไม่นิยมนำมาเล่น ส่วนของต้นขาต้องมีขนาดใหญ่และกล้ามเนื้อเป็นมัดรูขุมขนกว้าง
  4. ลักษณะดวงตา ปาก และขนหาง ลักษณะดวงตามีความคล้ายกับดวงตาของกบ กล่าวคือจะมีลักษณะกลมมน ใหญ่และมีสีขุ่น ลักษณะปากมีความใหญ่ หนา และแข็งแรง ส่วนหางจะมีขนที่ใหญ่และรูปร่างคล้ายใบพัด

 

ลักษณะใบหน้าของ ไก่ไซง่อน

 

            ลักษณะไก่ไซง่อน ลูกผสม (ไก่เวียดนาม + ไก่ลูกผสมไทยหรือพม่า) จะมีลักษณะดี โดดเด่น ดังนี้ จะมีโครงสร้างกระดูกใหญ่ ขันเสียงดัง แข้งมักจะใหญ่ (แต่แข้งกลมเล็กมักจะชนเก่งแทบทุกตัว) เกล็ดมักจะเป็นเกล็ด 2 แถว แบบตะเข้ขบฟัน เกล็ดเม็ดข้าวสารมักจะสวย มีจิตใจที่อดทนแข็งแรง ผิวหนังหนาเหนียว กล้ามเนื้อแข็งแรง ปากหนาใหญ่ ทน สามารถจิกจับคู่ต่อสู้ได้ดี 

 

ลักษณะลำตัว ไก่ไซง่อน

 

ลักษณะการชนไก่ไซง่อน

  1. จะเป็นไก่ที่ออกแข้งหนักลำโต ตีเจ็บปวด
  2. ต่อสู้อย่างอึดและทนมาก
  3. เชิงมวยของไก่ไซง่อน นั้นจะมาในลักษณะมีความหนักหน่วงและรุนแรง  บางตัวจะสามารถจำแผลได้แม่น เมื่อได้จังหวะจะเดินหน้าจิกและสู้ไม่ปล่อยจนคู่ต่อสู้ต้องยอมแพ้ไปเอง

 

ข้อเสียไก่ไซง่อน

  1. จะมีรูปร่างค่อนข้างใหญ่ ดังนั้นจะเสียที่ความคล่องตัว อืดอาด
  2. ลีลาชั้นเชิงมีน้อย

            (ข้อสังเกตเพิ่มเติม ต้องเลือกเหล่ากอไก่ไซง่อนให้ดี เพราะไก่จะไม่ได้เก่งทุกตัว บางตัวก็มีลักษณะด้อย เช่น ไม่สู้ไก่ อกยาน ปีกโหว่ ปีกสั้น บางเหล่าบอดง่าย เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกหาดีๆ) 

 

หมายเหตุ – ปัจจุบันมักไม่มีใครอยากชนด้วย เพราะไก่ไซง่อนมีรูปร่างตัวใหญ่ แข็งแรง เหนียว จึงหาคู่ชนยากความนิยมของการเลี้ยงเพื่อชนจึงถูกลดบทบาทไป แต่ยังเป็นสายพันธุ์ที่นิยมในหมู่นักพัฒนาสายพันธุ์ไก่ชนไทยอยู่ไม่น้อย

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *