สาระดีดีเกี่ยวกับไก่พม่า
ไก่พม่าซึ่งมีสัญชาติญาณของไก่ป่าอยู่สูง ทำให้ไก่พม่านั้นมีความคล่องแคล่วและปราดเปรียวอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าจะนำ มาเลี้ยงอยู่ก็ตาม และในบางตัวขณะกราดน้ำต้องเอาเชือกผูกที่ขาก็มี แต่ก็ยังคงเป็นที่ชื่นชอบของคนที่ชอบไก่กันอยู่ เพราะมีสีที่สวยและมีลูกตีเด็ดขาด ซึ่งบางครั้งถึงแม้ตัวละเล็กกว่า ไก่ก็สามารถที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ที่ตัวใหญ่ๆกว่าได้
สารบัญเจาะลึก
จุดเด่น
เป็นไก่ที่ตีหน้าตรงได้ดี เชิงตีหน้าตรงของไก่พม่านี้ จะเรียกว่าตีหน้าตรงอาชีพเลยก็ได้ ครับ หากคู่ต่อสู้เข้ามาโดยไม่ ระวัง มักจะถูกแข้งหน้าตรงเข้าเต็มๆ ทุกครั้ง หรือเป็นอาวุธเด็ดที่สำคัญในการทำลายนจังหวะของผู้ต่อสู้ ครับ
สาดแข้งเปล่าเก่ง เป็นไก่ที่มีลูกนำที่ดี หรือสาดแข้งเปล่านั้นเอง ลูกสาดแข้งเปล่านี้ถือว่าเป็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ ไก่ที่ไม่ต้องใช้ปากจับก่อนที่จะออกแข้ง ทำให้ได้เปรียบไก่ไทยที่บางครั้งต้องใช้ปากจับจึงจะตีได้
วางแผลได้แม่น
ตีเจ็บตีแม่น จุดนี้ถือว่าเป็นเสน่ห์ที่ดีที่สุดของไก่ชนพม่า เพราะแผลที่ตีนั้นจะเป็นแผลที่เป็นจุดตายทั้งสิ้น ไม่ ว่าจะเป็นบริเวณสามเหลี่ยมซอกคอ ที่มักจะทรุด บริเวณคอที่มักบวมหรือหัก บริเวณคอเชือด บริเวณวงแดง และดวงตา ซึ่งช่วยให้ เกิดการแพ้ชนะได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเสน่ห์การตีแม่นเหล่านี้นี่เองที่ทำให้ไก่ได้รับความชื่นชอบจากเซียนไก่ชนทั่วๆ ไปอย่าง ล้นหลาม
มีปีกที่ยาวและขนใยปีกเหนียวกว่าไก่ไทย
ด้วยสัญชาตญาณคล้ายไก่ป่านี้เอง ทำให้ปีกของไก่ชนพม่ามีความยาวกว่าไก่ ไทย เพราะไก่ต้องอาศัยการบินมากกว่า และแน่นอนกว่า คุณสมบัติดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่งต่อการบินในขณะชน นอกจาก นี้แล้วใยปีกของไก่ชนพม่ายังเหนียวกว่าไก่ไทยอีกด้วย ทำให้คู่ต่อสู้เข้ามัดปีกไม่ทะลุ จึงเป็นข้อดีอีกทางหนึ่งในการป้องกันตัว
จะมีก๊อกสองก๊อกสามตลอด อันนี้ก็นับเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของไก่ชนพม่า เพราะบางทีถูกตีล้มคว้ำล้มหงาย แต่ ไก่พก็สามารถจะเปิดก๊อกสองขึ้นมาติดคู่ต่อสู้ได้ตลอดเวลา
หลบหลีกเก่ง
เป็นไก่ที่หลบหลีกเก่ง ไม่ค่อยเข้าเชิง ซึ่งลีลาเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ค่อยให้ใครเข้าขี่เชิงนัก ยกตัว อย่างเช่น หากเจอไก่กอด ไก่จะหลบหลีกด้วยการถอดหัวหรือชักลิ่มหนีการกอด หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือการถอยและสาดแข้งเปล่า ซึ่งเป็นลีลาที่ถนัดอย่างมากทีเดียว
จุดด้อยของ
จะมีโครงกระดูกเล็ก ส่วนใหญ่มีเชื้อสายจากไก่ป่า ดังนั้นจึงต้องการความปราดเปรียว โครงสร้างต่างๆ โดย เฉพาะกระดูกจึงค่อนข้างเล็ก บางครั้งเจอแข้งลำโตๆ เข้าไปก็อาจถึงหักได้
แต่ในปัจจุบันนั้นมีอาหารเสริม ประเภท แคลเซียม หรือ ยาไก่ชน ออกจำหน่าย และอีกอย่างมีการพัฒนาสายพันธิ์ นำเชื้อสาย พม่าง่อน พม่าง่อนไทย พม่าง่อนไต้หวัน พม่าบราซิล ลูกพัฒนาสามสาย ไขว้สายพันธิ์พัฒนากันไปมา จนทำให้สายเลือดนิ่งขึ้น จนทำให้ไก่ชนพม่าทุกวันนี้มีโครงสร้างที่ดีไม่แพ้ไก่ชนในสายพันธิ์อื่นๆทั่วไป ครับ จนเป็นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ในวงการไก่ชนในประเทศไทย และประเทศเพื่อนมาก และมักมีราคาที่สูงกว่าไก่ชนสายพันธิ์อื่นๆ ครับ
ยืนดินไม่แน่น สิ่งที่เซียนหลายๆ คนรู้สึกขัดใจเมื่อดูลีลาของไก่ก็คือการโอนเอนไปมา หรือที่ภาษาเซียนเราเรียกว่า “ยืนดินไม่แน่น” นั่นเอง ซึ่งการยืนดินไม่แน่นนี้ บางครั้งอาจจะบั่นทอนความแรงของแข้งที่ดีดขึ้นไปอย่างช่วยไม่ได้ แต่ใน ปัจจุบันนี้ หากเป็นไก่ลูกร้อย รอยเล็ก เรายังคงเห็นอาการอย่างที่ว่านี้อยู่ แต่ถ้าหากเป็นลูกผ่านหรือลูกครึ่งอาการยืนดินไม่ แน่นนี้จะหายไปเยอะจนเกือบจะไม่เหลือให้เห็นเลย หรือที่เรียกว่ายืนดินตีฝังแข้งขึ้น ครับ
เริ่มชนได้เมื่อไหร่..
ไก่ที่สู้ไก่เร็ว อายุ 6 เดือนกว่าหรือ 7 เดือนก็จะเริ่มสู้ไก่แล้วบางตัวหางสร้อยยังเหลืออีกเยอะบางตัวหางพึ่งโผล่มาแค่ครึ่งเดียวเองก็เริ่มสู้ไก่แล้วเป็นด้วยสัญชาติญาณ ทั้งนี้อายุการเจริญเติบโตอยู่ที่การดูแล อาหารและสถาณที่ด้วย นะครับ ไก่รุ่นนี้ปกติทั่วไปตามซุ้มตามฟาร์มก็จะเริ่มจับครอบสุ่มแยกจากฝูง ให้กินข้าวเปลือก เสริมด้วยอาหารไก่ชน นิดๆเพื่อเติมโครงสร้าง ครับ
ธรรมชาติของไก่อายุเท่านี้ ที่ถูกต้องควรป่อยให้เต็มร่างขนปีกขนหางสุดเต็มที่ก่อน เพื่อรออายุกระดูกและโครงสร้าง ที่ถูกต้อง ต้องรออายุให้ได้ 8-9 เดือน แล้วจึงนำมาเค้าคอสฝึกฝนในวิธีการฝึกไก่ชนพม่าที่ถูกต้องได้ ครับ วิธีการเลี้ยงจะไม่เหมือนไก่ชนไทยหรือป่าก๋อยในบ้านเรา ครับ
ถ้าหากเราอยากดูเชิงชนเมื่อสู้เริ่มไก่ อายุ 6-7 เดือน ไก่อายุนี้จะเริ่มคุมฝูง คุมตัวเมีย มีความคึก หวงตัวเมีย เป็นสัญชาติญาณ ครับ แนะนำควรหาไก่รุ่นเดียวกัน หรือครูมวยที่กระดูกอายุอานามใกล้เคียง พันนวมสวมปากครูมวยใหหนา ให้ลองเตะดูสัก 5 นาที เพื่อดูเชิงชนเพลงตี และลีลาการออกแข้ง ครับ โดยมากไก่รุ่นนี้ที่เพิ่งจับครอบจากฝูงมักดูอะไรไม่ได้มาก ดูได้แค่ความคล่องตัว เหลี่ยมไก่และการออกแข้งเล็กๆน้อยๆ ครับ ว่าพอมีแววติดพ่อแม่หรือป่าว
จากนั้นเราต้องครอบรออายุ ให้โครงสร้างและอายุได้ เนื่องจากไก่ชนพม่าไม่เหมือนไก่เชิงป่าก๋อยทั่วไป ถ้าเป็นไก่ใหม่ สัญชาติโดยธรรมชาติเป็นไก่ชนไม่แข็งแรง ถ้ายิ่งไม่เคยชนหรือกระดูกอ่อนยังอ่อนถ้าโดนไก่เชิงหรือก๋อยทุบเข้าไม่ก่อน อาจจะทำให้ดูหมดเก่ง หรือหมดอาวุธได้ บางทีอาจทำให้เสียไก่ไปเลย ครับ
ข้อควรระวัง
แนะนำไก่พม่าใหม่ๆไม่ควรปล้ำจริง ยิ่งถ้าบางตัวมีเลือดพม่าที่สูงกระดูกโครงสร้างไม่ดี ต้องใช้วิธีเค้าคอสการเลี้ยงสักอาทิตย์หรือ 10 วันถึงจะปล้ำเช็คได้ ครับ ทางที่ดีก่อนนำไก่ใหม่ๆไปปล้ำจริง ควรจะเตะนวมเตะเป้าออกกำลัง ให้กล้ามเนื้อ กล้ามขา แข็งแรงและยืนดินดีๆมีความคล่องตัวก่อน ก่อนนำไปปล้ำจริง นะครับ
พม่าเป็นไก่ที่เลี้ยงยากกว่าไก่ชนสายพันธิ์อื่นและต้องเข้าใจมัน และต้องอาศัยความใจเย็นพอสมควร ต้องสร้างความแข้งแรงและกล้ามเนื้อให้แก่เค้า เค้าถึงจะโชร์ลีลาการออกแข้งออกเสต็ปให้เห็น ซุ้มใหญ่หรือมืออาชีพ ถ้าเช็คเห็นดูพอมีแววแล้วสักครั้ง ยิ่งเป็นพม่าเลือดสูงๆจะป่อยรอายุ 10-11 เดือน แล้วค่อยนำมาเค้าคอสปล้ำชนจริงเพื่อรอกระดูก จะสังเกตุว่าสนามมาตราฐานทั่วไป ไก่ชนพม่าจะเล่นลูกอายุเพื่อรอกระดูกโครงสร้าง เพิ่มความมั่นใจในการชนได้ดี ครับ
เป็นสายพันธุ์ไก่ชนที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในวงการไก่ชน ด้วยลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นและความแข็งแกร่งที่เหนือชั้น การดูแลอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้พวกเขามีสุขภาพดีและพร้อมสำหรับการแข่งขัน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไก่พม่า
1. ไก่พันธุ์พม่าคืออะไร?
เป็นสายพันธุ์ไก่ชนที่มีต้นกำเนิดจากประเทศพม่า พวกมันมีลักษณะทางกายภาพที่แข็งแกร่ง รวดเร็ว และมีความฉลาดในการต่อสู้
2. มีลักษณะเด่นอย่างไร?
มีขนาดตัวกลางถึงใหญ่ ขนหนาแน่น ขายาว แข็งแรง มีนิสัยดุร้าย และมีความอดทนสูง ทำให้พวกมันเป็นที่นิยมในการแข่งขันไก่ชน
3. ควรให้อาหารอะไร?
ควรได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น อาหารเม็ดที่มีโปรตีนสูง ผัก ผลไม้ และเมล็ดพืช นอกจากนี้ควรให้วิตามินและแร่ธาตุเสริมเพื่อสุขภาพที่ดี
4. วิธีการดูแลสุขภาพ
การดูแลสุขภาพไก่ควรให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดที่อยู่อาศัย การตรวจสุขภาพเป็นประจำ การให้วัคซีน และการป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคหวัดไก่และโรคพยาธิ
5. การฝึกไก่สำหรับการแข่งขันควรทำอย่างไร?
การฝึกไก่ควรเริ่มตั้งแต่ยังเล็ก โดยเน้นการฝึกให้มีความคล่องตัวและความอดทน การออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การปล่อยให้วิ่ง การตีปีก และการฝึกต่อสู้กับคู่ต่อสู้
6. มีอายุการใช้งานนานแค่ไหน?
อายุการใช้งานประมาณ 5-7 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลและสุขภาพของไก่
7. วิธีการเลือกไก่ที่ดีควรดูอะไรบ้าง?
การเลือกไก่ควรดูที่สุขภาพทั่วไป ลักษณะทางกายภาพ เช่น ขนที่หนาแน่น ตาที่สดใส และขาที่แข็งแรง รวมถึงดูประวัติการต่อสู้ของไก่ตัวนั้นด้วย
cr https://saranonma.blogspot.com/