วิธีรักษาโรคไก่ชนที่เกิดบ่อยๆ

โรคที่เกิดบ่อยในไก่ชนมักเกิดจากการติดเชื้อ การบาดเจ็บจากการชน หรือปัญหาทางโภชนาการ เช่น โรคหวัด ไข้หวัดนก โรคทางเดินหายใจ หรือโรคหน้าซีด การรักษาเบื้องต้นควรเริ่มจากการแยกไก่ที่ป่วยออกจากฝูง เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อ ให้ยาตามอาการ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาบำรุงเลือด หรือยาลดไข้ นอกจากนี้ การดูแลสภาพแวดล้อมที่สะอาดและการให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในไก่ชน

ไก่เป็นหวัดรักษาอย่างไร

ถ้าไก่เป็นหวัดต้องหยุดอาบน้ำให้ไก่ การรักษาไก่ชนต้องใจเย็นๆ การรักษาต้องไม่ให้ไก่แพ้แรงเกินไป

ไก่ที่เป็นหวัดควรทำการรักษาดังนี้

1. หยุดอาบน้ำให้ไก่

2. เตรียมยาแซดต้า

3. น้ำมันมะพร้าว

4. ยาขมตราใบห่อ

วิธีขั้นตอนการรักษา

1. เตรียมน้ำเย็น ขนไก่แยงคอ ผ้าอาบน้ำ เมื่อนำไก่มาแล้ว ให้เป่าจมูก จับไก่อ้าปากมองดูที่เพดานในปากว่ามีน้ำมูกอยู่ที่

เพดานหรือเปล่า ให้เอาขนไก่พันน้ำมูกที่เพดานออก แล้วเป่าจมูกไก่อีกครั้งดูว่าจมูกโล่งหรือยัง

2. เมื่อเห็นว่าจมูกโล่งดีแล้ว ให้เอาน้ำมันมะพร้าวหยอดที่จมูก แล้วเป่าน้ำมันให้ทะลุเพดาน แล้วเป่าอีกครั้งเมื่อเห็นว่า

จมูกโล่งดีแล้ว ให้ทำอย่างนี้ทุกวัน

3. ยาขม5เม็ดยาแซดต้า1เม็ดให้กินพร้อมกันเช้าเย็นก่อนให้ยาจะต้องเป่าจมูกไก่ด้วยน้ำมันมะพร้าวให้โล่งก่อนเมื่อรักษา

จนเห็นว่าหายดีแล้วก็เริ่มอาบน้ำตามปกติ

ไก่เป็นอมพะนำ

เกิดจากการซ้อม หรือเกิดจากปากขบกัน หรือกาบแตก การรักษาอมพะนำถ้าทำไม่ถูกวิธี อาการก็จะกำเริบมากขึ้นหรือบวมมากขึ้นการรักษาจะต้องตรวจดูว่าปากไก่ที่บวม มีแผลในปากหรือเปล่า ถ้ามีแผลการรักษาก็จะง่ายขึ้น จะต้องเตรียมอูปกรณ์ ดังนี้

1. ไม้แคะหู

2. ยาทิงเจอร์ -ยาเม็ดทีซีมัยซิน

3. สำลี

4. ยาโปรเคนอย่างฉีด

การรักษา

1. เอาไม้แคะหูจุ่มยาทิงเจอร์ แล้วไปแคะปรวดที่เป็นเนื้อขาวๆออกให้หมด

2.ใช้สำลีพันปลายไม้ชุบยาทิงเจอร์แหย่เข้าไปในโพรงที่เป็นอมพะนำเพื่อฆ่าเชื้อ

3.เอาสำลีชุบยาโปรเคนยัดเข้าไปในรูอมพะนำ แต่ต้องปล่อยหางสำลีโผล่เอาไว้

4. เอายาทีซีมัยซินให้ไก่กิน 1 เม็ด และต้องเปลี่ยนสำลีที่ชุบยาโปรเคน 2 วันต่อครั้ง

และสำลีต้องเล็กลงทุกครั้งจนกว่าจะหายสนิทไก่ที่เป็นปรวดที่หน้าอก

หน้าอกที่เป็นปรวดหรือไตน้ำ ให้จับดูว่าเป็นไตมากน้อยแค่ใหนให้เจาะที่เป็นไตใต้สุดเจาะรูพอประมาณเอาไม้แคะหูแคะที่เป็นไตออกให้หมด แล้วหลังจากนั้นก็ รักษาเหมือนกันกับเป็นอมพะนำ แต่ต้องเปลี่ยนสำลีทุกๆวัน และให้กินยาทุกวันจนกว่าจะหาย

ไก่ที่เป็นปรวดที่หัว

การรักษาปรวดที่หัว การเจาะปรวดต้องเจาะให้ต่ำลงมาทางหลัง ห้ามเจาะตรงกลางเพราะปรวดจะหายยาก

และหลังจากนั้นก็ทำการรักษา เหมือนกันกับเป็นอมพะนำ ทำทุกวันจนกว่าจะหาย

ไก่เกิดจากการพองลม

การรักษาไก่เกิดการพองลมจุดใดจุดหนึ่ง ถ้าทำการรักษาไม่ถูกทางจะเกิดการพองลมไปเรื่อยๆ จนลามเป็นปรวด

การรักษาต้องเจาะเอาลมออกแล้วใช้หลอดยาคูลท์ เสียบเข้าไป เอาพลาสติกปิดทับอีกครั้งหนึ่ง ให้ยาแก้อักเสบ

ดูอาการสัก 2-3 วัน เมื่อไม่พองลมให้เอาหลอดยาคูลท์ออก ส่วนไก่ที่เกิดอาการพองลมในระหว่างชน

เมื่อหมดยกต้องรีบเจาะลมออกให้หมด เพราะเป็นอันตรายระหว่างชนเมื่อเจาะแล้วก็ต้องรีบเย็บแผลให้สนิท

ถ้าเย็บไม่สนิท มันจะเกิดพองลมขึ้นมาอีก เมื่อแก้ไขอันนี้ไม่เป็นผลสำเร็จ ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ ต้องเจาะให้แผล

กว้างเท่าหลอดกาแฟ แล้วเอาสำลียัด จากนั้นเย็บร้อยด้วยด้าย เย็บหนังกับสำลีผูกให้แน่น

ไก่จะไม่พองลมอีก นำเข้าชนได้เลย

ไก่เป็นขี้กลาก

หากไก่เป็นขี้กลากตามใบหน้า หรือตามลำตัว จะเป็นผลเสียต่อไก่ชน ถ้าเรานำไปชน ไก่มันจะไม่ยอมตีคู่ต่อสู้

เลือดจะออกที่ใบหน้า ตาจะหรี่ ยิ่งชนนานอันจะไม่ค่อยตี คู่ต่อสู้ บางรายเอายาแผนปัจจุบันมาทารักษา

เมื่อหายแล้วเอาขมิ้นทาทับ จะทำให้ขี้กลากหมกอยู่ข้างใน เมื่อหยุดอาบน้ำไก่สักอาทิตย์ แล้วจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับไก่

ดังนั้นใช้ยาแผนโบราณรักษาขี้กลากจึงจะได้ผลส่วนผสมมีดังนี้

1. น้ำมันมะพร้าว

2. กำมะถันเหลือง

3. หัวกระเทียม

4. ใบชุมเห็ด

การรักษา

1. ปอกหัวกระเทียม

2. นำกระเทียมมาตำกับใบชุมเห็ด ให้ละเอียด

3. เอากำมะถันมาผสม

4. เอาน้ำมันมะพร้าวมาผสม

5. เมื่อเห็นว่าละลายเข้ากันดีแล้ว ให้นำไปตากแดดประมาณ 4 ชั่วโมง

6. ใช้แปรงสีฟันจุ่มยาถูบริเวณที่เป็นกลาก รุ่งขึ้นอีกวันทาซ้ำอีก เมื่อทา 2 ครั้งแล้วปล่อยทิ้งไว้ คอยดูว่าหน้าเป็นขุย

ถ้าเห็นว่าเป็นขุย เอาผ้าชุบน้ำบิดให้แห้งถู ตรงที่เป็นขุย สักพักถูออกอีกครั้ง อย่าเพึ่งทาขมิ้น ให้รอเอาไว้อีก 1 วัน

คอยดูว่ายังมีสะเก็ดขาวๆอยู่หรือเปล่า ถ้ามีให้ถูออกให้หมดแล้วจึงทาขมิ้น

ยาถ่ายแก้ช้ำในหลังซ้อม

ในการช้ำในของไก่ชนนั้น ไม่ว่าจะเกิดจากการซ้อมหรือชน ถ้ามีบาดแผลที่ใบหน้าไม่ยอมหายง่ายๆ

เป็นเพราะน้ำเหลืองในตัวไก่ไม่ดี ควรทำการถ่ายยาแก้อาการช้ำใน ดังนี้ หัวไพลสด ยาดำ มะขามเปียก

ปอกเปลือกหัวไพลสดล้างให้สะอาดนำมาตำให้ละเอียดในอัดตราส่วน หัวไพลสด 1 ส่วน มะขามเปียก 2 ส่วน

ส่วนยาดำจะเอามากหรือน้อยก็แล้วแต่ เมื่อไพลสด ละเอียดแล้ว เอายาดำ มะขามเปียกลงไปตำให้เข้ากัน

ปั้นเปเนก้อนขนาดเท่า 1 ข้อของนิ้วชี้ไก่ เมื่อจะถ่ายยาไก่ควรทำในตอนเช้า เพราะตอนเช้ากระเพาะไก่จะว่าง

นำไก่มาแยงคอเอาเสลดออกเอาน้ำให้กินมากๆ แล้วเอายาที่ปั้นเตรียมไว้ไปคลุกกับน้ำให้ไก่กิน 2 ก้อน

แล้วเอาน้ำให้กินมากๆ แล้วนำไก่ไปตากแดด แล้วสังเกตดูว่าไก่ถ่ายออกมาเป็น

อย่างไร เมื่อไก่ถ่ายแล้วหรือถ่ายสัก 3-4 ครั้ง ก็นำไก่มาอาบน้ำแล้วลงขมิ้นให้ทั่ว ตัวนำไปผึ่งแดดต่อ เมื่อถ่ายครบ 4-5 วันแล้ว

นำไก่มาลงนวมสลับกับการซ้อมนวม เมื่อซ้อมนวมแล้วนำมาลงนวมอีกครั้ง หลังจากนั้นให้พักสัก 4-5 วัน

แล้วถึงนำไก่ ออกซ้อมจริง การซ้อมจริงควรจะให้ได้ 12-14 อันหรือยก ซ้อมนวมก็เหมือนกัน ส่วนการลงนวม

แล้วแต่เราจะกำหนด เพราะลงนวมเวลามันมากกว่าซ้อม เมื่อซ้อมได้ ตามกำหนด

ก่อนที่จะนำไก่ออกชนจะต้องสังเกต เมื่อเวลามันวิ่งสุ่ม

1.เมื่อไก่ยืนอยู่ตีนสุ่มแล้วกระโดดขึ้นหัวสุ่มโดยไม่ต้องใช้ปีกช่วยขึ้นหัวสุ่มอย่างคล่องแคล่วหรืออยู่ห่างจากสุ่มประมาณ 1 เมตร

สามารถบินขึ้นหัวสุ่มได้เหมือนนก แสดงว่าไก่สมบูรณ์เยี่ยมมาก

2. เมื่อไก่ยืนอยู่ตีนสุ่ม เวลาจะขึ้นหัวสุ่ม เอาตีนตะกายตาสุ่ม พร้อมกระพือปีกช่วย แทบจะขึ้นหัวสุ่มไม่ไหว

แสดงว่าไก่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ควรนำออกชน

สูตรยาโบราณสำหรับไก่ชน

1. บอระเพ็ดแช่น้ำผึ้ง สรรพคุณทำให้เจริญอาหาร

2. กระชายแช่น้ำผึ้ง (โสมไทย) สรรพคุณทำให้มีกำลัง

3. ตะไคร้หั่นเป็นฝอยๆ สรรพคุณควบคุมอาหารให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

4. น้ำมันตับปลา สรรพคุณควบคุมไขข้อและกระดูก

สมุนไพรเหล่านี้ให้กินหลังจากอาบน้ำตอนเช้าเสร็จแล้ว ก่อนที่จะนำไปผึ่งแดด พร้อมให้กินข้าวเปลือก เมื่อนำไก่เข้าร่ม

ควรให้ไก่หายหอบเสียก่อน จึงเอาน้ำให้กินหลังจากนั้นก็ให้กินกล้วยน้ำหว้า 1 ชิ้นขนาดเท่าหัวแม่มือ

แล้วปล่อยให้ไก่อยู่ตามสบาย พอตอนสายนำมาอาบน้ำอีกครั้ง พร้อมหั่นตะไคร้ให้กินอีก เมื่อได้เวลาอาหาร

ตอนเย็น ก็ให้ไก่กินข้าวเปลือก พอเวลาประมาณ 18.30 น. เปิดไฟให้ไก่เคยชินกับแสงไฟ พร้อมให้อาหารเสริม

เมื่อให้ไก่กินแล้วต้องคอยสังเกตดูว่าไก่มีอาการผิดปกติ กับอาหารชนิดนี้หรือไม่เช่นอาหารไม่ย่อย เมื่ออาหารไม่ย่อยแสดงว่า

ไก่ไม่ถูกกับอาหารนั้น ก็ไม่ควรให้กินยาหลังอาหารก่อนเข้านอน

มะขามอ่อน กระชายสด ตะไคร้สด น้ำตาลปึก เกลือป่น

นำส่วนผสมมาตำให้ละเอียด(อย่าใส่น้ำตาลมากเกินไป) เกลือใส่นิดหน่อย เอายามาปั้นเป็นลูกกลอนเท่าขนาด 1 ข้อ

นิ้วชี้ให้กิน 2 ก้อน แล้วยังมียาอีกชนิดหนึ่ง ดังนี้ไพล 1 ส่วน ขมิ้นอ้อย 1 ส่วน ขมิ้นชัน 2 ส่วน บอระเพ็ด 1 ส่วน

ตะไคร้ 1 ส่วน น้ำตาลกรวด เกลือตำสมุนไพรให้ละเอียด แล้วเอาน้ำตาลใส่ลงไปพอประมาณ

ใส่เกลือนิดหน่อย ก่อนจะนำไก่เข้านอน ปั้นยาเป็นลูกกลอนเท่าขนาดหัวแม่มือให้ไก่กิน

การรักษาไก่ที่เป็นหน่อ

อาการของไก่ที่เป็นหน่อ คือ บริเวณใต้อุ้งเท้าของไก่จะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อแข็งคล้ายตาปลา

ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้ไก่เดินไม่ถนัด เพราะมันจะบวมขึ้นเรื่อยๆ จนหน่อแตก จะทำการรักษาก็หายยาก

ขั้นตอนการรักษามีดังนี้

ให้เอากระสอบข้าวมาวางกับพื้นดินเอาเกลือดรยบนกระสอบเอาปูนขาวโรยลงบนเกลืออีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น เอาน้ำกลั่น 1 ลิตร

ผสมน้ำ 5 ลิตรเทราดลงปูนขาว จนเปียก แล้วเอาไก่ที่เป็นหน่อลงไปเดินบนปูนขาวให้น้ำยากัดแผลใต้อุ้งตีน

เมื่อน้ำยากัดแผลหมดแล้ว เอาสำลีรองใต้อุ้งตีน เอาผ้าเทปพันสำลีไว้ แล้วหลังจากนั้น เอาน้ำกลั่นผสมกับทินเนอร์แล้ว

เอาสลิ้งดูดเอาไปฉีดเข้าที่สำลี ต้องฉีดทุกวัน ถ้าดีขึ้นแล้วให้เอาโกเอี๊ยะปิดแผลเอาไว้

แล้วเอาพลาสเตอร์ปิดทับอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นควรตรวจดูทุกๆ 2 วัน ดูว่าหายเป็นปกติหรือยังถ้าหายดีแล้ว

อย่าปล่อยให้เดินตีนเปล่า ควรหารองเท้าใส่ให้ไปพลางๆก่อน จนกว่าอุ้งเท้าจะหนาพอ จึงจะปล่อยได้

เวลาทำการซ้อมต้องเอาสำลีรองอุ้งเท้าแล้วเอาพลาสเตอร์คาดไว้เพื่อป้องกันเท้าแตกอีก

หลังจากทำการซ้อมเสร็จแล้วควรตรวจดูอีกครั้งว่ามีอะไร ผิดปกติหรือเปล่า ถ้ามีรอยช้ำควรเอาโกเอี๊ยะปิดไว้

ไก่ชนอาหารไม่ย่อย

ไม่ว่าจะเกิดจากอาหารเป็นพิษหรือระบบภายในทำงานไม่ปกติ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดอันตรายได้

การรักษาไก่ชนอาหารไม่ย่อยเบื้องต้น

ต้องสังเกตดูว่ามีโรคอะไรบ้าง เช่น เป็นหวัดหรือในโพรงปากเป็นฝ้าขาวน้ำตาไหลอยู่ตลอดเวลาให้เอามือจับใต้ปีกดูว่าไก่ตัวร้อน

หรือไม่ ถ้าตัวร้อนแสดงว่าไก่มีอาการเป็นไข้ด้วย การรักษามีดังนี้

ห้ามให้อาหารเด็ดขาด ให้เอาน้ำเช็ดใต้ปีกและใต้ก้น ให้ไก่กินน้ำอย่างเดียว เเล้วเอายาขม 5 เม็ดและยาแซ็ตต้า 1 เม็ด

ให้กินพร้อมกันเช้าเย็น แล้วคอยสังเกตดูว่าอาหารย่อยหรือยังถ้าอาหารยังไม่ย่อยก็ให้กินแต่น้ำเท่านั้น หลังจากอาหารย่อยแล้ว

ห้ามให้อาหารแข็งเป็นข้าวเปลือก ต้องให้กินอาหารทีละน้อยๆก่อน อย่าให้กินมาก แล้วคอยสังเกตดูว่าขี้เป็นปกติ

หรือเปล่า ถ้าขี้เป็นปกติแล้วค่อยให้กินข้าวเปลือกได้เต็มที่

ไก่หน้าซีด วิธีการรักษา

ใช้วิธีการถ่ายสมุนไพร เพราะสมุนไพรมันจะไปล้างลำไส้ พวกบอระเพ็ดจะไปเคลือบลำไส้ และเพิ่มน้ำดีในการย่อยอาหาร

ความขมของบอระเพ็ดจะทำให้ไก่กินข้าวได้ ตราบใดที่ไก่กินข้าวได้เลือดฝาดดี เลือดสมบูรณ์ดีหน้าไก่ก็จะไม่ซีด

สาเหตุใหญ่ที่ทำให้ไก่หน้าขาวหน้าซีดจะเกี่ยวกับเลือดและลำไส้โดยตรงจึงทำให้กินข้าวได้น้อย กินข้าวไม่ได้เท่าทีควร

ระบบการย่อยอาหารไม่ดี ก็ทำให้ไม่มีเม็ดเลือด ขาวผลิตเม็ดเลือดแดงได้มากพอก็ทำให้ไก่ขาดเลือด

การบำรุงรักษาให้ยาพวกสมุนไพร ปลาป่นเพิ่มโปรตีน พวกบอระเพ็ดเพิ่มความขมในน้ำดีร่างกาย

และช่วยระบบการย่อยอาหารให้ดีขึ้นก็ทำให้ไก่กินข้าวได้ รวมทั้ง ให้กินพวกหอยขม ของคาว ก็จะทำให้ไก่

ได้กลิ่นคาวเข้าทางจมูกทำให้ไก่อยากกินข้าว แล้วบำรุงด้วยกล้วยเพื่อย่อยง่าย เพิ่มพลังงาน เพิ่มแคลอรี ในร่างกายให้สูงขึ้น

เพราะในกล้วยมีน้ำตาลเพิ่มความร้อนในร่างกาย ในกระเพาะ ลำไส้ได้รับความอบอุ่นทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น

ไม่จำเป็นที่จะไปหาวิตามินราคาสูงให้ไก่กินเพราะถ้า กินมาก จะมีผลเสีย คือทำให้ไก่ท้องผูก ไก่หน้าซีดก็

ต้องพยายามให้กินข้าวและก็ต้องให้ออกกำลังกายด้วย เพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว เลือดจะได้สูบฉีด,,(😊),,