กระเบื้องประคบไก่ หรือ การลงกระเบื้องไก่ ในสมัยโบราณ
หรือ ตำราโบราณที่กล่าวขานมาเนิ่นนาน กล่าวไว้ว่า เป็นการเสริมพลังธาตุเหล็ก เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บของไก่ชนในสมัยโบราณการแพทย์ยังไม่เจริญมากเท่าปัจจุบัน สังเกตในสมัยก่อนผู้เฒ่าผู้แก่เวลาจะทำอะไร พิธีกรรมใดๆ มักจะขาดธาตุเหล็กไม่ได้ นอกจาก 4 ธาตุหลักที่เราร่ำเรียนกันเช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ สังเกตจากคาถาสมัยก่อน จะมีคำว่ นะ มะ พะ ทะ ควบคู่กันเสมอ
ดังนั้น สิ่งมีชีวิตไม่ว่าคน หรือ สัตว์ ประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่เมื่อขาดธาตุใด ธาตุหนึ่งไม่สมดุล ไม่สมบูรณ์มักเจ็บไข้ ได้ป่วย คนโบราณเลยต้องมีการเสริมด้วยธาตุเหล็กที่ขาดไปให้สมบูรณ์ดั้งเดิม ก็จะหายจากการเจ็ปบป่วยได้ไวขึ้น
ศัพท์วงการไก่ชน อีกหนึ่งที่เรียกว่า การกราดน้ำไก่ชน หมายถึงการเสริมด้วยธาตุน้ำ ธาตุลมมาจากล้อมๆตัวเรา ธาตุไฟที่ติดไว้และมารวมเป็นความร้อนที่อยู่บนกระเบื้อง นั้นก็คือธาตุดิน ผสมรวมกัน เมื่อพูดว่าเลี้ยงทำตัวกราดน้ำ ติดกระเบื้องก็จะมองเห็นภาพการรวมธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาสู่ตัวไก่โดยใช้ผ้าชุบน้ำมาเช็ดบนแผ่นกระเบื้องที่มีความร้อนแล้วนำมาประคบตัวไก่
ถัดมาในสมัยปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใหม่ สมัยก่อนจะใ้ชเตาถ่าน ดินเผา ซึ่งต้องรอกว่าจะร้อน สมัยนี้เรามีไฟฟ้าเช่น เตารีด เสียบปุ้บไม่ต้องรอนาน ใช้งานได้เลย เหมาะกับความเร่งรีบ และประหยัดเวลาในสมัยนี้ สามารถดัดแปลงเตารีดที่ใช้ทั่วไป แกะด้านที่จับออก หงายเตารีดและนำมายึดกับแผ่นไม้ขันให้แน่นตามลำดับ เพื่อเวลาจับจะได้มั่นคง ไม่หลุดล่อย และสะดวกในการใช้งาน